คำขวัญ ประจำจังหวัด
เมืองมะขามหวาน อุทยานน้ำหนาว ศรีเทพเมืองเก่า เขาค้ออนุสรณ์ นครพ่อขุนผาเมือง
เรียนวิชากับหลวงปู่ศุข หลังจากที่หลวงพ่อทบได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมงแล้ว ท่านยังคงตั้งใจที่จะแสวงหาวิชาความรู้อยู่อย่างไม่หยุดยั้ง เมื่อท่านทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดศิลาโมงเข้าที่เข้าทางแล้ว ท่านได้ยินชื่อเสียงเกียรติคุณของ พระครูวิมลคุณากร หรือ หลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ว่าเป็นผู้สำเร็จวิชา 8 ประการ ซึ่งมีน้อยองค์นักที่จะสำเร็จได้ ท่านจึงได้เดินธุดงค์ออกจากวัดศิลาโมง มุ่งหน้าไปที่จังหวัดชัยนาท ในที่สุดท่านก็ได้กราบนมัสการหลวงปู่ศุขสมความปรารถนา และที่วัดปากคลองมะขามเฒ่านี้เอง ท่านก็ได้พบกับพระเกจิอาจารย์อีก 2 รูปที่ได้เดินทางมากราบนมัสการหลวงปู่ศุข เพื่อขอเรียนวิชาก่อนหน้าที่ท่านจะมาคือ 1. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน 2.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้งการเรียนวิชาจากหลวงปู่ศุขนั้นก่อนที่ท่านจะมอบวิชาอาคมอะไรก็ตามให้กับศิษย์นั้น ท่านจะทดสอบพลังจิตของศิษย์แต่ละองค์เสียก่อนว่ามีความกล้าแข็งสักเพียงใด จากนั้นจะถามถึง วัน เดือน ปี เกิด ของแต่ละองค์เสียก่อน ซึ่งการที่ท่านต้องทดสอบและไต่ถามก็เพื่อท่านจะได้ทราบถึงความสามารถ วาสนา บารมีของแต่ละองค์ ว่ามีมากน้อยเพียงใด ควรจะมอบวิชาอะไรให้ถึงจะเหมาะสมที่สุด ซึ่งหลวงปู่ศุขท่านก็ได้มีเมตตา มอบวิชาอาคมต่างๆ ให้กับหลวงพ่อทบหลายอย่าง ซึ่งท่านก็ได้ใช้วิชาเหล่านั้นสงเคราะห์ญาติโยมมาตลอดชีวิตของท่าน
3 ปี จึงได้เล่าเรียนจนสำเร็จ
พัฒนาวัดต่างๆ ภายหลังจากที่หลวงพ่อทบได้ไปเรียนพระเวทวิทยาคมจากหลวงพ่อเง่าแล้ว ท่านเห็นว่าวิชาอาคมของท่านนั้นได้เรียนเอาไว้มากแล้ว สมควรที่จะช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมผู้ตกทุกข์ได้ยาก ตลอดจนพัฒนาวัดวาอารามในท้องถิ่นแถบนี้ให้เจริญขึ้นมาให้ได้ ท่านจึงได้ยุติการเดินธุดงค์เอาไว้ก่อน และได้ใช้เวลาเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดสงเคราะห์ญาติโยม และได้สร้างถาวรวัตถุในบวรพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาให้ได้ โดยท่านได้สร้างพระอุโบสถให้กับวัดต่างๆ ถึง 16 หลัง พอถึงหลังที่ 17 ท่านได้วางเพียงศิลาฤกษ์เท่านั้น ท่านก็มามรณภาพเสียก่อน ในขณะที่ท่านกำลังพัฒนาวัดวาต่างๆ นั้น ท่านได้รับการแต่งตั้งจากคณะสงฆ์ให้เป็นพระคู่สวดเมื่อปี พ.ศ.2455 ท่านอายุได้ 29 ปี พรรษา 9 ตอนนั้นท่านกลับมาจากการเดินธุดงค์และจำพรรษาที่วัดศิลาโมง พอถึงปี พ.ศ.2490 ท่านอายุได้ 66 ปี พรรษา 45 ท่านก็ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และพอถึงปี พ.ศ.2497 ท่านมีอายุได้ 73 ปี พรรษา 53 ท่านก็ได้รับเลื่อนสมณศักดิ์เป็นเจ้าคณะอำเภอชนแดน และได้รับการสถาปนาจากกรมการศาสนาเป็น พระครูวิชิตพัชราจารย์
อุปนิสัยของหลวงพ่อทบ หลวงพ่อทบ ท่านมีรูปร่างเล็กแกร่ง นิ้วมือของท่านเรียวงาม ฝ่ามืออ่อนนุ่ม ยามเมื่อท่านลูบหัวศิษย์จะรู้สึกว่า นุ่มประดุจฝ่ามือของบิดามารดาถนอมบุตรกระนั้น หลวงพ่อทบเป็นพระเถระที่พูดน้อยไม่ค่อยจะช่างคุย ถามคำท่านก็ตอบคำมิได้เสแสร้ง แต่ท่านได้สำรวมมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว นัตย์ตาของท่านมีประกายแวววาวแสดงถึงความมีอำนาจทุกคนที่เคยไปกราบนมัสการท่านจะบอกเป็นเสียงด้วยกันว่า นัตน์ตาของท่านมีมหาอำนาจและไม่กล้าสบตากับท่านตรงๆ แต่ว่าในความมีอำนาจนั้นจะแฝงแววแห่งความเมตตาเอาไว้ด้วย ในการต้อนรับแขกที่เดินทางไปกราบนมัสการท่านในแต่ละวันนั้น ท่านจะตอนรับอย่างเสมอภาคกัน ไม่เคยเลือกฐานะหรือความคุ้นเคยเป็นหลักแม้แต่น้อย ใครมาก่อนพบก่อน ใครมาทีหลังพบทีหลัง คนรวยคนจนในสายตาของท่านก็คือคนเหมือนกัน ถ้าท่านสงเคราะห์ได้ท่านก็จะรีบสงเคราะห์ให้ด้วยความเต็มใจ ไม่เคยเห่อเหิมในยศฐาบรรดาศักดิ์ ท่านถือว่าลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นโลกธรรม แม้สมณศักดิ์ที่ได้รับมาท่านก็คงวางเฉยไม่ยินดียินร้าย ท่านยังคงเป็นหลวงพ่อทบ หรือพระอธิการทบธรรมดาๆ ท่านเคยอยู่อย่างไร ท่านก็อยู่อย่างนั้น ทรัพย์สินเงินทองที่เขาถวายท่านมา ท่านก็นำไปลงทุนไว้ในพระพุทธศาสนาจนหมดสิ้น เมื่อท่านถึงกาลมรณภาพก็ไม่มีทรัพย์สินอะไรที่มีค่าพอจะเอามาประกอบพิธีศพของท่านได้ เป็นที่ซาบซึ้งของบรรดาศิษยานุศิษย์เป็นอันมาก ในความมักน้อยสมถะของท่าน อีกประการหนึ่งที่ท่านได้สั่งสอนอบรมอยู่เสมอนั่นก็คือ ความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ เพราะท่านเองนั้นได้ทำเป็นตัวอย่างแกศิษยานุศิษย์ ก็คือ ท่านได้มีความกตัญญูต่อบรรดาพระอาจารย์ของท่านที่ล่วงลับไปแล้ว โดยท่านทำบุญกุศลถวายอยู่เป็นประจำทุกปี ในเวลาว่างถ้าหากท่านได้สนทนากับลูกศิษย์เป็นที่ถูกคอแล้ว ท่านมักจะเอ่ยถึงนามพระอาจารย์ของท่านให้ศิษย์ฟังอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ศุข เก่งอย่างนั้น หลวงพ่อเง่าท่านเก่งอย่างนี้ พระอาจารย์สีกับพระอาจารย์ปานเก่งไปอีกอย่างหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งนามของพระอาจารย์ของท่านที่ท่านเอ่ยออกมาเป็นการยกย่องไว้เหนือเกล้า ไม่มีการลบหลู่ดูหมิ่นเป็นอันขาด ปากของท่านก็มีประกาศิตเหมือนปากของพระร่วงเลยทีเดียว พูดคำไหนเป็นคำนั้น ให้พรใครคนนั้นก็เจริญก้าวหน้า ถ้าเผลอสาปแช่งหรือดุด่าก็จะเป็นไปตามปากของท่านทุกประการ นับว่าน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เป็นที่เลื่องลือและกล่าวขานกันมาก ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่จึงมีคนเดินทางไปขอพรท่านอย่างเนืองแน่นทุกวันมิได้ขาด
รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ภายหลังจากที่หลวงพ่อทบได้กลับมาจากการเดินธุดงค์แล้ว ท่านก็ได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดศิลาโมงเรื่อยมา หลวงพ่อทบท่านจำพรรษาที่วัดศิลาโมง ขณะนั้นท่านอยู่ในฐานะพระลูกวัดธรรมดา ถึงแม้ว่าท่านจะเป็นพระลูกวัดธรรมดา ท่านก็เป็นผู้นำในการก่อสร้างถาวรวัตถุหลายอย่างในวัดศิลาโมง จนเจริญรุ่งเรืองกว่าวัดอื่นๆ ในละแวกเดียวกัน พอถึงปี พ.ศ.2466 หลวงพ่อทบ จึงได้ย้ายไปจำพรรษาที่ วัดเสาธงทอง ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งก็อยู่ห่างจากวัดศิลาโมงออกไปเล็กน้อยเมื่อท่านมาจำพรรษที่วัดเสาธงทอง ซึ่งในขณะนั้นมี พระอธิการย่อง เป็นเจ้าอาวาส ท่านได้ช่วยพัฒนาวัดเสาธงทองให้เจริญรุ่งเรืองจนผิดหูผิดตาเลยทีเดียว พอดีเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ว่างมานาน ทางคณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้หลวงพ่อทบเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้วเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2472 จากนั้นเป็นต้นมาท่านก็เป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ ตามลำดับดังนี้
1. พ.ศ. 2472 – 2479 เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว
2. พ.ศ. 2476 – 2478 เป็นเจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง
3. พ.ศ. 2479 – 2499 เป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ
4. พ.ศ. 2480 – 2497 เป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง
5. พ.ศ. 2500 – 2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนแดนตามข้อมูลข้างบนนี้ จะเห็นว่าทางราชการและคณะสงฆ์มองเห็นความสำคัญของท่าน จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ หลายวัด บางวัดก็แต่งตั้งให้ท่านรักษาการเจ้าอาวาสไปก่อน รอจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสตัวจริง เราจะเห็นว่าหลวงพ่อทบทำงานหนักมาก
1. พ.ศ. 2472 – 2479 เป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว
2. พ.ศ. 2476 – 2478 เป็นเจ้าอาวาสวัดเสาธงทอง
3. พ.ศ. 2479 – 2499 เป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ
4. พ.ศ. 2480 – 2497 เป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง
5. พ.ศ. 2500 – 2519 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนแดนตามข้อมูลข้างบนนี้ จะเห็นว่าทางราชการและคณะสงฆ์มองเห็นความสำคัญของท่าน จึงได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดต่างๆ หลายวัด บางวัดก็แต่งตั้งให้ท่านรักษาการเจ้าอาวาสไปก่อน รอจนกว่าจะมีการแต่งตั้งเจ้าอาวาสตัวจริง เราจะเห็นว่าหลวงพ่อทบทำงานหนักมาก
ต่อไปจะเป็นประวัติของวัดต่างๆ ที่หลวงพ่อทบเคยไปเป็นเจ้าอาวาสวัดเกาะแก้ว วัดเกาะแก้ว หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดเกาะ ตั้งอยู่เลขที่ 106 บ้านนายม ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 18 ไร่ 93 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือ 87 ตารางว่า ติดต่อกับลำคลองวังชมภู ตาม น.ส. 3 ก. เลขที่ 585 พื้นที่วัดเป็นที่ราบ มีลำคลองและทางสาธารณะล้อมรอบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 11 เมตร ยาว 13.20 เมตร สร้างมาแต่โบราณ ศาลาการเปรียญ 1 หลัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2520 กุฏิสงฆ์มีจำนวน 2 หลังเป็นอาคารไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่มาก และมีเจดีย์ 7 องค์ กล่าวกันว่าสร้างมาแต่สมัยลพบุรี วัดเกาะแก้วเดิมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมานานก่อนสมัยสุโขทัย แต่คงจะทรุดโทรมลงบ้างตามกาลเวลา และได้มีการบูรณะก่อสร้างให้เป็นวัดที่มั่นคงนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2398 เป็นต้นมา หลวงพ่อทบได้มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ. 2472-2479
วัดเสาธงทอง วัดเสาธงทอง หมู่ที่ 4 ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 40 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 4 เส้น ติดต่อกับวังชมภู ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดต่อกับถนนหลวง ทิศตะวันออกยาว 10 เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันตกยาว 10 เส้น ติดต่อกับวัดร้าง ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เป็นหลักฐาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 8.40 เมตร ยาว 9.55 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2519 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กศาลาการเปรียญกว้าง 16.40 เมตร ยาว 28.90 เมตร สร้างปี 2510 กุฏิมีจำนวน 13 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ และพระมหากัจจายนะ วัดเสาธงทอง เดิมเป็นวัดที่สร้างมานานกว่า 700 ปี ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลง และได้มีการสร้างให้เป็นวัดขึ้นอีก ประมาณปี พ.ศ.2387 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2476-2478
วัดสว่างอรุณ วัดสว่างอรุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดใน ตั้งอยู่เลขที่ 88 ในหมู่บ้านชนแดน หมู่ที่ 1 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 8 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 75 วา ติดต่อกับหมู่บ้านชนแดน ทิศตะวันออกยาว 29 วา ติดต่อกับที่ดินนายอัง ทิศตะวันตกยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาและหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกล้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2384 ศาลาการเปรียญกล้วง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2524 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กุฏิสงฆ์จำนวน 3 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปั้น วัดสว่างอรุณสร้างขึ้นเป็นวันนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2451 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.2455 มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ 8 รูป สามเณร 4 รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนี้ และใช้เป็นที่สอบธรรมสนามหลวงด้วย หลวงพ่อทบได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ เมื่อ พ.ศ.2479-2499
วัดศิลาโมง วัดศิลาโมง ตั้งอยู่เลขที่ 170 บ้านยางหัวลม หมู่ที่ 8 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 11 ไร่ 60 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว 100 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว 150 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 200 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายป้อม ทัพมีบุญ และทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 75 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 112 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างประมาณ พ.ศ.2450 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 หอสวดมนต์กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สร้าง พ.ศ. 2516 กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและมีเจดีย์เก่าปรักหักพัง วัดศิลาโมง สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ.2425 ชาวบ้านเรียกว่าวัดยางหัวลม ตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2450 และหลวงพ่อทบ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง เมื่อ
พ.ศ.2480-2497
วัดพระพุทธบาทชนแดน วัดพระพุทธบาทชนแดน ตั้งอยู่เลขที่ 99 บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับภูเขาน้อยและหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดกับถนนใหญ่ ทิศตะวันออกยาว 5 เส้น ติดต่อกับลำคลอง ทิศตะวันตกยาว 2 เส้น ติดกับถนนสายวัดโป่ง ซึ่งมี น.ส.3 ก. เลขที่ 1361 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลาดเอียงอยู่ติดต่อกับภูเขา สภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้านและป่าไม้ อาคารและเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถ สร้าง พ.ศ.2517 พื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 24 เมตร ยาว 34 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 เสาคอนกรีตยกพื้นสูง หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2510 มีกุฏิสงฆ์จำนวน 7 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ และรอยพระพุทธบาทจำลองที่ประดิษฐานอยู่บนภูเขา วัดพระพุทธบาทชนแดน กระทรวงศึกษาได้ประกาศเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2516 ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดพระพุทธบาทเขาน้อย หรือวัดเขาน้อย เพราะตั้งอยู่ที่เขาน้อย โดยมีนายปั้น ก้อนพล บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ซึ่งได้มอบถวายแด่หลวงพ่อทบ พระเกจิอาจารย์ในภูมิภาคนี้ การสร้างวัดได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2517 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2517 ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม เมื่อปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทชนแดน เมื่อ พ.ศ. 2500-2519
วัดช้างเผือก วัดช้างเผือก ตั้งอยู่เลขที่ 313 บ้างยางหัวลม หมู่ที่ 7 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 เมตร ติดต่อถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 160 เมตร ติดต่อกับที่นาของนางแล่ม ชีพราหมณ์ ทิศตะวันออกยาว 170 เมตร ติดต่อกับที่ดินของบริษัทจุลไหมไทย จำกัด ทิศตะวันตกยาว 190 เมตรติดต่อกับที่ดินของนายชู ชาวใต้ ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 219 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังนี้ ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2517
หอสวดมนต์กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2512 กุฏิสงฆ์มีจำนวน 2 หลัง มณฑปเก็บศพหลวงพ่อทบ สร้าง พ.ศ.2520 อุโบสถหลังใหม่สร้างแทนหลังเดิม วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2519 ก่อสร้างแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2535 วัดช้างเผือกสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2440 ก่อนหลวงพ่อทบจะบรรพชาเป็นสามเณรมีพระอาจารย์สีเป็นเจ้าอาวาส หลังจากพระอาจารย์สีมรณภาพแล้วตามประวัติไม่ได้ระบุว่ามีพระภิกษุมาจำพรรษา จึงทำให้กลายเป็นวัดร้าง จน พ.ศ.2516 หลวงพ่อทบได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ใช้เวลาบูรณะอยู่ 3 ปี ตัวของท่านก็ปวยและมรณภาพในวันงานศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังที่ 17 ปัจจุบันวัดช้างเผือกมีพระอธิการพรหม จันทปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส
ปฏิปทาของหลวงพ่อ หลวงพ่อทบ ท่านเป็นพระที่มีเมตตา เยือกเย็นสุขุม ปรานีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พูดน้อย ชอบการก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ได้ทำการก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม ไปตามสถานที่ต่างๆ ท่านได้เป็นผู้นำทำการก่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยไปแล้วถึง 16 หลัง ทั้งยังได้วางศิลาฤกษ์หลังที่ 17 ไว้แล้วที่วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็พอดีท่านมรณภาพเสียก่อน ทั้งนี้ไม่นับผลงานของท่านอีกมากมาย เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ บ่อน้ำ สระน้ำ และอื่นๆ อีก คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นพระภิกษุที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ ตลอดชีวิตของท่านให้การต้อนรับแกบุคคลทั้งหลายเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตเพียงใด มั่งมีหรือยากจน ผู้ใดเดินทางไปกราบท่านก็จะได้รับการต้อนรับเท่าเทียมกันหมด ไม่มียินดียินร้ายหรือทะเยอทะยานในลาภ ยศ สรรเสริญ ตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีความทุกข์ไปหาท่าน ก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่นิยมการสะสมเงินทองหรือทรัพย์สมบัติใดๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วจึงไม่มีทรัพทย์สินใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโลกอันเป็นส่วนตัวของท่านเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ ตั้งอยู่ในโอวาทคำสั่งสอน ท่านเคยพูดว่าที่ต้องกลับมาอยู่วัดช้างเผือกอีก ก็เพราะว่าพระอาจารย์สี พระอาจารย์ของท่านได้สั่งเอาไว้ว่า วาระสุดท้ายให้มาอยู่ประจำวัดนี้อย่าให้ร้าง ทั้งท่านยังได้กล่าวอีก(พ.ศ. 2518) ว่าตัวของท่านขณะนี้ตายแล้ว เพียงแต่ไม่เน่าเท่านั้นเอง
มีวาจาสิทธิ์ คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นผู้มี วาจาสิทธิ์ คือกล่าวอะไรก็เป็นเช่นนั้น คนที่ทราบเรื่องดีต่างก็มีความยำเกรงมาก โดยเฉพาะพวกอันธพาลงานวัดหลายคนประสบมา ในสมัยที่หลวงพ่อทบเคยเป็นประธานในงานพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ วิหาร ที่ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บางแห่งได้มีพวกนักเลงหัวไม้ก่อการทะเลาะวิวาทตีหัวฟันแทนกันบ้าง เสร็จแล้วก็วิ่งมาหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนละทิศละทาง จนเป็นที่หวั่นเกรงของประชาชนทำให้ไม่กล้ามาเที่ยวงาน เป็นอุปสรรคในการจัดงานของทางวัดอย่างใหญ่หลวง แต่พอเรื่องราวทราบถึงหลวงพ่อทบเท่านั้น ท่านก็บอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เจ้าพวกที่มาก่อเรื่องนี้มันไปไหนไม่รอดหรอก วนเวียนอยู่กับวัดนี้แหละ แล้วเหตุการณ์ก็จริงอย่างที่ท่านว่าไว้ อันธพาลก่อกวนงานวัดมันหาได้หลบหนี้ไปพ้นไม่ เหมือนมีอะไรมาฉุดรั้งพวกมันไว้ ให้พวกมันวิ่งวนเวียนอยู่ภายในวัดนั้นเองไปไหนไม่รอด ในที่สุดก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลากตัวไปเข้าห้องขังจนได้ เมื่อเหตุเกิดบ่อยครั้งเข้าข่าวก็ขจายไปทั่ว ทุกคนก็เริ่มเชื่อแล้วว่าต้องเป็นเพราะความที่หลวงพ่อทบท่านมีวาจาสิทธิ์นั่นเอง มาในระยะหลังนี้จึงปรากฏว่าหากวัดไหนมีงาน ก็มักจะมานิมนต์หลวงพ่อไปเป็นประธาน ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่ามีอันธพาลพวกไหนกล้าไปตอแยอีกเลย งานวัดก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ
อุทาหรณ์เกี่ยวกับการมีวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนี้ มีผู้เล่าลือต่อๆ กันไปหลายเรื่องด้วยกัน เคยมีผู้สมัครสอบเข้ารับราชการหรือนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวนมากได้มาขอพรจากหลวงพ่อขอให้สอบได้ ซึ่งท่านก็มักจะใช้มือตบที่ศรีษะผู้นั้นเพียบเบาๆ และให้พรว่า “สอบได้” เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี ส่วนมากก็จะเป็นไปตามที่ท่านให้พรนั้นทุกประการ ดังนั้นผู้ใดที่ได้สละเวลาเข้าไปให้ถึงตัวของท่านแล้วจึงไม่ผิดหวัง มีแต่ความสมหลังด้วยกันทั้งนั้น บางคนภรรยาลงเรือนไปหลายวันแล้วยังไม่กลับไม่ทราบว่าไปไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไรก้บากหน้ามาหาท่าน ขอพรให้เมียกลับมาบ้านเสียที ท่านบอกกับผู้เป็นสามีว่า “กำลังกลับ” วันต่อมาชายคนที่ว่านี้ก็กลับมาหาหลวงพ่ออีกครั้ง คราวนี้เขาพูดว่า “เมียผมกลับบ้านแล้ว จึงมามนัสการหลวงพ่อ” ว่าแล้วก็ให้หลวงพ่อเป่ากระหม่อมให้ ท่านก็เมตตาเป่าให้ ชายคนดังกล่าวจึงเดินตัวปลิวลงจากกุฏิไปเกี่ยวกับเรื่องวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนั้น มิใช่เหตุการณ์บังเอิญ อาจจะเป็นไปได้สองประการคือ ท่านรู้เหตุการณ์ข้างหน้าหนึ่ง และท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์หนึ่ง จะสังเกตเห็นได้ว่าท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวใครเลย แม้แต่พระเณรในวัดท่านก็ไม่มีที่จะดุด่า ตรงกันข้ามท่านมักจะกล่าวแต่ถ้อยคำเสนาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้บางคนเห็นว่าท่านเป็นคนพูดน้อยจนเกินไป ยิ่งถ้าเป็นพวกเด็กๆ ด้วยแล้วหลวงพ่อจะเลือกสรรกล่าวแต่ถ้อยคำที่เป็นสิริมงคลแกพวกเขามากยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแต่สิ่งที่ดีนั่นเอง[/color]
วัดเสาธงทอง วัดเสาธงทอง หมู่ที่ 4 ตำบลนายม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 40 ไร่ อาณาเขต ทิศเหนือยาว 4 เส้น ติดต่อกับวังชมภู ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดต่อกับถนนหลวง ทิศตะวันออกยาว 10 เส้น ติดต่อกับหมู่บ้าน ทิศตะวันตกยาว 10 เส้น ติดต่อกับวัดร้าง ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เป็นหลักฐาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 8.40 เมตร ยาว 9.55 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2519 โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กศาลาการเปรียญกว้าง 16.40 เมตร ยาว 28.90 เมตร สร้างปี 2510 กุฏิมีจำนวน 13 หลัง เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ พระพุทธรูปปางห้ามญาติ และพระมหากัจจายนะ วัดเสาธงทอง เดิมเป็นวัดที่สร้างมานานกว่า 700 ปี ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลง และได้มีการสร้างให้เป็นวัดขึ้นอีก ประมาณปี พ.ศ.2387 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2476-2478
วัดสว่างอรุณ วัดสว่างอรุณ หรือที่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดใน ตั้งอยู่เลขที่ 88 ในหมู่บ้านชนแดน หมู่ที่ 1 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดจำนวน 8 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 75 วา ติดต่อกับหมู่บ้านชนแดน ทิศตะวันออกยาว 29 วา ติดต่อกับที่ดินนายอัง ทิศตะวันตกยาว 60 วา ติดต่อกับถนนสาธารณะ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่ม สภาพแวดล้อมเป็นทุ่งนาและหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกล้าง 6 เมตร ยาว 11 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2384 ศาลาการเปรียญกล้วง 12 เมตร ยาว 20 เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2482 หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 10 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.2524 เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว กุฏิสงฆ์จำนวน 3 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปั้น วัดสว่างอรุณสร้างขึ้นเป็นวันนับตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2451 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ในปี พ.ศ.2455 มีพระภิกษุจำพรรษาอยู่ 8 รูป สามเณร 4 รูป ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนี้ และใช้เป็นที่สอบธรรมสนามหลวงด้วย หลวงพ่อทบได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดสว่างอรุณ เมื่อ พ.ศ.2479-2499
วัดศิลาโมง วัดศิลาโมง ตั้งอยู่เลขที่ 170 บ้านยางหัวลม หมู่ที่ 8 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 11 ไร่ 60 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือยาว 100 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ยาว 150 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันออกยาว 200 เมตร ติดต่อกับที่ดินของนายป้อม ทัพมีบุญ และทางสาธารณะ ทิศตะวันตกยาว 75 เมตร ติดต่อกับทางสาธารณะ ตาม น.ส.3 ก. เลขที่ 112 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ท่ามกลางหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถกว้าง 6 เมตร ยาว 9 เมตร สร้างประมาณ พ.ศ.2450 ศาลาการเปรียญ กว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 หอสวดมนต์กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร สร้าง พ.ศ. 2516 กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและมีเจดีย์เก่าปรักหักพัง วัดศิลาโมง สร้างขึ้นเป็นวัดตั้งแต่ พ.ศ.2425 ชาวบ้านเรียกว่าวัดยางหัวลม ตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ.2450 และหลวงพ่อทบ ท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดศิลาโมง เมื่อ
พ.ศ.2480-2497
วัดพระพุทธบาทชนแดน วัดพระพุทธบาทชนแดน ตั้งอยู่เลขที่ 99 บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลชนแดน อำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 27 ไร่ 3 งาน อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับภูเขาน้อยและหมู่บ้าน ทิศใต้ยาว 4 เส้น ติดกับถนนใหญ่ ทิศตะวันออกยาว 5 เส้น ติดต่อกับลำคลอง ทิศตะวันตกยาว 2 เส้น ติดกับถนนสายวัดโป่ง ซึ่งมี น.ส.3 ก. เลขที่ 1361 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ลาดเอียงอยู่ติดต่อกับภูเขา สภาพแวดล้อมเป็นหมู่บ้านและป่าไม้ อาคารและเสนาสนะต่างๆ มีพระอุโบสถ สร้าง พ.ศ.2517 พื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 24 เมตร ยาว 34 เมตร สร้าง พ.ศ.2522 เสาคอนกรีตยกพื้นสูง หอสวดมนต์กว้าง 6 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2510 มีกุฏิสงฆ์จำนวน 7 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในพระอุโบสถ และรอยพระพุทธบาทจำลองที่ประดิษฐานอยู่บนภูเขา วัดพระพุทธบาทชนแดน กระทรวงศึกษาได้ประกาศเป็นวัดตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2516 ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดพระพุทธบาทเขาน้อย หรือวัดเขาน้อย เพราะตั้งอยู่ที่เขาน้อย โดยมีนายปั้น ก้อนพล บริจาคที่ดินให้สร้างวัด ซึ่งได้มอบถวายแด่หลวงพ่อทบ พระเกจิอาจารย์ในภูมิภาคนี้ การสร้างวัดได้ดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ.2490 ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2517 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2517 ได้เปิดโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม เมื่อปี พ.ศ.2512 หลวงพ่อทบท่านได้มาเป็นเจ้าอาวาส วัดพระพุทธบาทชนแดน เมื่อ พ.ศ. 2500-2519
วัดช้างเผือก วัดช้างเผือก ตั้งอยู่เลขที่ 313 บ้างยางหัวลม หมู่ที่ 7 ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 14 ไร่ 2 งาน 10 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือยาว 80 เมตร ติดต่อถนนสาธารณะ ทิศใต้ยาว 160 เมตร ติดต่อกับที่นาของนางแล่ม ชีพราหมณ์ ทิศตะวันออกยาว 170 เมตร ติดต่อกับที่ดินของบริษัทจุลไหมไทย จำกัด ทิศตะวันตกยาว 190 เมตรติดต่อกับที่ดินของนายชู ชาวใต้ ซึ่งมี น.ส. 3 ก. เลขที่ 219 พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่างๆ มีดังนี้ ศาลาการเปรียญกว้าง 12 เมตร ยาว 15 เมตร สร้าง พ.ศ.2517
หอสวดมนต์กว้าง 9 เมตร ยาว 12 เมตร สร้าง พ.ศ.2512 กุฏิสงฆ์มีจำนวน 2 หลัง มณฑปเก็บศพหลวงพ่อทบ สร้าง พ.ศ.2520 อุโบสถหลังใหม่สร้างแทนหลังเดิม วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2519 ก่อสร้างแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาฝังลูกนิมิต เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2535 วัดช้างเผือกสร้างขึ้นก่อน พ.ศ.2440 ก่อนหลวงพ่อทบจะบรรพชาเป็นสามเณรมีพระอาจารย์สีเป็นเจ้าอาวาส หลังจากพระอาจารย์สีมรณภาพแล้วตามประวัติไม่ได้ระบุว่ามีพระภิกษุมาจำพรรษา จึงทำให้กลายเป็นวัดร้าง จน พ.ศ.2516 หลวงพ่อทบได้มาบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ ใช้เวลาบูรณะอยู่ 3 ปี ตัวของท่านก็ปวยและมรณภาพในวันงานศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังที่ 17 ปัจจุบันวัดช้างเผือกมีพระอธิการพรหม จันทปัญโญ เป็นเจ้าอาวาส
ปฏิปทาของหลวงพ่อ หลวงพ่อทบ ท่านเป็นพระที่มีเมตตา เยือกเย็นสุขุม ปรานีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย พูดน้อย ชอบการก่อสร้าง จะเห็นได้ว่าภายหลังจากที่ท่านได้อุปสมบทแล้ว ได้ทำการก่อสร้างบูรณะวัดวาอาราม ไปตามสถานที่ต่างๆ ท่านได้เป็นผู้นำทำการก่อสร้างพระอุโบสถสำเร็จเรียบร้อยไปแล้วถึง 16 หลัง ทั้งยังได้วางศิลาฤกษ์หลังที่ 17 ไว้แล้วที่วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ก็พอดีท่านมรณภาพเสียก่อน ทั้งนี้ไม่นับผลงานของท่านอีกมากมาย เช่น กุฏิสงฆ์ ศาลาการเปรียญ บ่อน้ำ สระน้ำ และอื่นๆ อีก คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นพระภิกษุที่ไม่เลือกชั้นวรรณะ ตลอดชีวิตของท่านให้การต้อนรับแกบุคคลทั้งหลายเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการมียศถาบรรดาศักดิ์ใหญ่โตเพียงใด มั่งมีหรือยากจน ผู้ใดเดินทางไปกราบท่านก็จะได้รับการต้อนรับเท่าเทียมกันหมด ไม่มียินดียินร้ายหรือทะเยอทะยานในลาภ ยศ สรรเสริญ ตรงกันข้าม เมื่อผู้ใดมีความทุกข์ไปหาท่าน ก็จะได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดี เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ไม่นิยมการสะสมเงินทองหรือทรัพย์สมบัติใดๆ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อท่านมรณภาพแล้วจึงไม่มีทรัพทย์สินใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับทางโลกอันเป็นส่วนตัวของท่านเลยแม้แต่น้อย นอกจากนี้ ยังเป็นผู้มีกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์ ตั้งอยู่ในโอวาทคำสั่งสอน ท่านเคยพูดว่าที่ต้องกลับมาอยู่วัดช้างเผือกอีก ก็เพราะว่าพระอาจารย์สี พระอาจารย์ของท่านได้สั่งเอาไว้ว่า วาระสุดท้ายให้มาอยู่ประจำวัดนี้อย่าให้ร้าง ทั้งท่านยังได้กล่าวอีก(พ.ศ. 2518) ว่าตัวของท่านขณะนี้ตายแล้ว เพียงแต่ไม่เน่าเท่านั้นเอง
มีวาจาสิทธิ์ คุณวิเศษอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อทบก็คือ ท่านเป็นผู้มี วาจาสิทธิ์ คือกล่าวอะไรก็เป็นเช่นนั้น คนที่ทราบเรื่องดีต่างก็มีความยำเกรงมาก โดยเฉพาะพวกอันธพาลงานวัดหลายคนประสบมา ในสมัยที่หลวงพ่อทบเคยเป็นประธานในงานพระอุโบสถ กุฏิสงฆ์ วิหาร ที่ได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว บางแห่งได้มีพวกนักเลงหัวไม้ก่อการทะเลาะวิวาทตีหัวฟันแทนกันบ้าง เสร็จแล้วก็วิ่งมาหลบหนีเจ้าหน้าที่ตำรวจคนละทิศละทาง จนเป็นที่หวั่นเกรงของประชาชนทำให้ไม่กล้ามาเที่ยวงาน เป็นอุปสรรคในการจัดงานของทางวัดอย่างใหญ่หลวง แต่พอเรื่องราวทราบถึงหลวงพ่อทบเท่านั้น ท่านก็บอกกับเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า เจ้าพวกที่มาก่อเรื่องนี้มันไปไหนไม่รอดหรอก วนเวียนอยู่กับวัดนี้แหละ แล้วเหตุการณ์ก็จริงอย่างที่ท่านว่าไว้ อันธพาลก่อกวนงานวัดมันหาได้หลบหนี้ไปพ้นไม่ เหมือนมีอะไรมาฉุดรั้งพวกมันไว้ ให้พวกมันวิ่งวนเวียนอยู่ภายในวัดนั้นเองไปไหนไม่รอด ในที่สุดก็ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจลากตัวไปเข้าห้องขังจนได้ เมื่อเหตุเกิดบ่อยครั้งเข้าข่าวก็ขจายไปทั่ว ทุกคนก็เริ่มเชื่อแล้วว่าต้องเป็นเพราะความที่หลวงพ่อทบท่านมีวาจาสิทธิ์นั่นเอง มาในระยะหลังนี้จึงปรากฏว่าหากวัดไหนมีงาน ก็มักจะมานิมนต์หลวงพ่อไปเป็นประธาน ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่ามีอันธพาลพวกไหนกล้าไปตอแยอีกเลย งานวัดก็ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยทุกประการ
อุทาหรณ์เกี่ยวกับการมีวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนี้ มีผู้เล่าลือต่อๆ กันไปหลายเรื่องด้วยกัน เคยมีผู้สมัครสอบเข้ารับราชการหรือนักเรียนนักศึกษาเป็นจำนวนมากได้มาขอพรจากหลวงพ่อขอให้สอบได้ ซึ่งท่านก็มักจะใช้มือตบที่ศรีษะผู้นั้นเพียบเบาๆ และให้พรว่า “สอบได้” เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จพิธี ส่วนมากก็จะเป็นไปตามที่ท่านให้พรนั้นทุกประการ ดังนั้นผู้ใดที่ได้สละเวลาเข้าไปให้ถึงตัวของท่านแล้วจึงไม่ผิดหวัง มีแต่ความสมหลังด้วยกันทั้งนั้น บางคนภรรยาลงเรือนไปหลายวันแล้วยังไม่กลับไม่ทราบว่าไปไหน เป็นตายร้ายดีอย่างไรก้บากหน้ามาหาท่าน ขอพรให้เมียกลับมาบ้านเสียที ท่านบอกกับผู้เป็นสามีว่า “กำลังกลับ” วันต่อมาชายคนที่ว่านี้ก็กลับมาหาหลวงพ่ออีกครั้ง คราวนี้เขาพูดว่า “เมียผมกลับบ้านแล้ว จึงมามนัสการหลวงพ่อ” ว่าแล้วก็ให้หลวงพ่อเป่ากระหม่อมให้ ท่านก็เมตตาเป่าให้ ชายคนดังกล่าวจึงเดินตัวปลิวลงจากกุฏิไปเกี่ยวกับเรื่องวาจาสิทธิ์ของหลวงพ่อทบนั้น มิใช่เหตุการณ์บังเอิญ อาจจะเป็นไปได้สองประการคือ ท่านรู้เหตุการณ์ข้างหน้าหนึ่ง และท่านเป็นผู้มีวาจาสิทธิ์หนึ่ง จะสังเกตเห็นได้ว่าท่านไม่เคยดุด่าว่ากล่าวใครเลย แม้แต่พระเณรในวัดท่านก็ไม่มีที่จะดุด่า ตรงกันข้ามท่านมักจะกล่าวแต่ถ้อยคำเสนาะ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้บางคนเห็นว่าท่านเป็นคนพูดน้อยจนเกินไป ยิ่งถ้าเป็นพวกเด็กๆ ด้วยแล้วหลวงพ่อจะเลือกสรรกล่าวแต่ถ้อยคำที่เป็นสิริมงคลแกพวกเขามากยิ่งขึ้น เพื่อให้เด็กๆ ได้รับแต่สิ่งที่ดีนั่นเอง[/color]
สำเนาตราตั้งสมณะศักดิ์
ให้เจ้าอธิการทบ วัดสว่างอรุณ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นพระครูวิชิตพัชรจารย์ ขอพระคุณจงรับธุระพระพุทธศาสนา
เป็นภาระสั่งสอน ช่วยระงับอธิกรณ์ และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณรในอารามโดยสมควร จงเจริญสุขสวัสดิ์ในพระพุทธศาสนาเทอญ
ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม พุทธศักราช 2497 เป็นปีที่ 9 ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี
ปัจฉิมวัย เมื่อปี พ.ศ.2507 หลวงพ่อทบท่านมีอายุได้ 83 ปี ความไม่เที่ยงแห่งสังขารก็เริ่มรุกรานท่านให้เป็นไปตามกฎของธรรมชาติ ในระยะนี้นัยน์ตาของท่านก็เริ่มฝ้าฟางลง จนในที่สุดก็บอดมืดสนิททีเดียว ซึ่งนายแพทย์ผู้รักษากล่าวว่า นัยน์ตาของหลวงพ่อได้หมดอายุแล้ว ถึงแม้ว่าดวงตาของท่านจะมืดบอดไม่เห็น แต่ท่านก็ยังสร้างและบูรณะวัดวาอารามอีกหลายแห่ง และภายหลังจากที่ท่านได้ระลึกว่า การที่ท่านจะอยู่ในตำแหน่งโดยที่นัยน์ตาของท่านมองอะไรไม่เห็นเช่นนี้ น่าจะไม่ก่อประโยชน์อะไรขึ้นมา ฉะนั้นท่านจึงได้ขอลาออกจากตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์ เจ้าคณะอำเภอชนแดน แต่ด้วยอำนาจบุญบารมีของท่านเกินกว่าจะกล่าวได้ เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยฐานะกรมการศาสนา ก็มีมติให้ท่านคงดำรงตำแหน่งพระครูวิชิตพัชราจารย์กิตติมศักดิ์ต่อไปจนตลอดอายุ เมื่อหลวงพ่อทบท่านได้ลาออกจากสมณศักดิ์แล้ว ท่านยังคงคิดถึงวัดที่ท่านได้เคยอาศัยอยู่กับพระอาจารย์สีมาก่อน นั่นคือ วัดช้างเผือก ตำบลวังชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งในขณะนั้นเป็นวัดร้างไม่มีผู้ใดจะคิดบูรณะ ร้างมาประมาณกว่า 30-40 ปี แล้ว อนึ่งท่านก็ยังคงจดจำคำของพระอาจารย์สีที่เคยบอกกับท่านไว้เมื่อ 68 ปีที่แล้ว่า หากถึงวาระสุดท้ายก็ให้กลับไปวัดช้างเผือก อย่าปล่อยให้ร้างนั้นได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นท่านจึงได้ออกจากวัดพระพุทธบาทชนแดนทันทีที่ได้รับนิมนต์ให้มาช่วยบูรณะวัดศิลาโมง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากวัดช้างเผือกนัก เพราะเห็นว่าสะดวกดีที่จะได้ย้ายไปจำพรรษาที่วัดช้างเผือกต่อไป หลวงพ่อทบท่านได้บูรณะวัดศิลาโมง จนเห็นว่าสมควรจะได้ไปทำการบูรณะวัดช้างเผือกแล้ว ท่านก็ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดช้างเผือกซึ่งร้างรอท่านให้ช่วยปลูกฟื้นฟูอยู่ หลังจากนั้นวัดช้างเผือกก็เปลี่ยนสภาพจากวัดร้างที่ไม่มีใครสัญจรไปมา นอกเสียจากพวกเด็กเลี้ยงควายจะได้ไปอาศัยพักร่มเงาบนกุฏิที่เก่าคร่ำคร่าจะพังมิพังแหล่ ซึ่งมีอยู่หลังเดียวกับศาลาการเปรียญที่ทรุดโทรมอย่างถึงที่สุดแล้ว พระอุโบสถแลเห็นเพียงแต่ฐาน เพราะส่วนบนปรักหักพังลงมาจนหมดสิ้น กลับกลายเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองมากที่สุดของตำบลวังชมพูในปัจจุบัน
อาพาธมาเยือน เมื่อวันที่ 13 เดือนมีนาคม พ.ศ.2519 ทางคณะกรรมการวัดช้างเผือกได้จัดให้มีงานประจำปี พร้อมทั้งทำพิธีวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถหลังใหม่ ซึ่งจะได้สร้างขึ้นแทนหลังเดิม ซึ่งได้ปรักหักพังจนหมดสิ้นดังกล่าวข้างต้น ในวันดังกล่าวปรากฏว่า ประชาชนได้หลั่งไหลไปยังบริเวณงานวัดช้างเผือกอย่างมือฟ้ามัวดิน และอย่างไม่คาดฝันมาก่อน พอตกกลางคืนนั้นเองก็บังเกิดพายุจัด ฝนก็ตกลงมาอย่างหนัก การแสดงมหรสพทั้งหมดที่มีผู้นำมาเปิดวิกจึงได้งดทำการแสดงทั้งหมด ฝนตกกระหน่ำอยู่ประมาณ 5 ชั่วโมงจึงหยุด ทุกสิ่งทุกอย่างแห่งธรรมชาติกลับคืนสู่สภาพปกติ แต่ทว่าที่บนกุฏิของหลวงพ่อทบ ซึ่งแวดล้อมไปด้วยลูกศิษย์และญาติโยม ทุกคนเริ่มใจคอไม่ดี ด้วยสังเกตเห็นว่าหลวงพ่อทบเริ่มมีอาการผิดปกติกว่าที่เป็นมามาก พยายามลุกนั่งและฉันหมากอยู่เสมอ มิหนำซ้ำยังได้พูดถึงศพของท่านว่า หากตัวท่านมรณภาพลงจริงๆ แล้ว อย่าได้เผาเป็นอันขาด ให้สร้างเป็นวิหารหรือมณฑปเก็บศพไว้ มิฉะนั้นแล้วความเจริญหรือการปฏิสังขรณ์ใดๆ ที่วัดช้างเผือก ที่กำลังดำเนินการอยู่จะหยุดชะงักลงไปทันที วัดก็จะกลับไปร้างอีก นายแฉล้ม ชีพราหมณ์ ซึ่งในระยะหลังนี้นับว่าเป็นศิษย์ผู้ใกล้ชิดมากที่สุด มีหน้าที่คอยติดตามหลวงพ่อทบไปทุกแห่งที่ได้รับนิมนต์ไป ได้รับคำหลวงพ่อทบว่า “จะทำตามที่สั่งทุกอย่าง” หลวงพ่อทบจึงมีอาการแจ่มใสขึ้น พูดคุยอย่างสนุกสนาน ทำให้บรรยากาศที่ตึงเครียดด้วยหัวใจที่หวาดหวั่นของลูกศิษย์และผู้ที่เฝ้าอยู่นั้นผ่อนคลายลงได้
ถึงกาลมรณภาพ แต่แล้วเหมือนฟ้าผ่ามาลงท่ามกลางท้องฟ้าที่ปลอดโปร่งปราศจากเมฆฝนแม้แต่น้อย เมื่อเวลาประมาณเที่ยงวันเศษของวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2519 หลวงพ่อทบเหมือนเป็นไข้ นายแฉล้ม ชีพราหมณ์ เป็นผู้สังเกตอาการของหลวงพ่อทบได้ดีกว่าผู้อื่น เริ่มมีอาการวิตกกังวลเต็มไปด้วยความกระสับกระส่าย เขาตัดสินใจนำรถมารับหลวงพ่อทบเพื่อที่จะรีบพาท่านไปรักษาตัวที่กรุงเทพฯทันที แล้วอย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน ในขณะที่รถกำลังพาท่านไปกรุงเทพฯ มาถึงตำบลนาเฉลียง ออกจากวัดช้างเผือกมาได้ประมาณ 15 กิโลเมตร หลวงพ่อทบก็ปิดเปลือกตาลงอย่างสนิท พร้อมกับการกำหนดลมหายใจเป็นครั้งสุดท้าย มันเป็นเวลาสี่โมงเย็นพอดี หลวงพ่อทบก็มรณภาพลงอย่างสงบบนรถนั่นเอง ข่าวหลวงพ่อทบมรณภาพดังกึกก้องอย่างรวดเร็ว ประชาชนทั่วทุกสารทิศที่ได้ทราบข่าวต่างก็พากันมุ่งตรงมายังวัดช้างเผือกในทันที วันแล้ววันเล่าที่คณะกรรมการวัดต้องทำงานอย่างหนัก ข้าวของเครื่องบริขารของหลวงพ่อได้รับการสำรวจอย่างถี่ถ้วนโดยเฉพาะพระเครื่องรางของขลังทั้งหมดได้ถูกเก็บรวบรวมในทันที เพื่อรอการตรวจเช็คของกรรมการต่อไป ประชาชนจำนวนเรือนหมื่นได้ไปออกันอยู่ที่วัดช้างเผือกตลอดเวลาที่มีพิธีบำเพ็ญกุศลมิได้ขาด จนกระทั่งครบ 100 วัน ศพของท่านยังคงเก็บไว้ที่วัดช้างเผือกตลอดมา มิได้ทำการณาปนกิจหรือเผาแต่อย่างใด ทั้งนี้เพื่อทำตามคำสั่งของท่านที่ให้เก็บศพไว้เพื่อสร้างมณฑปและโลงแก้ว สำหรับใช้เป็นที่เก็บศพของท่านอย่างถาวร ให้ลูกหลานได้กราบไหว้ต่อไป ความมหัศจรรย์อีกอย่างหนึ่งสำหรับพระเกจิอาจารย์อย่างหลวงพ่อทบ เป็นเรื่องเกี่ยวกับวันเกิดและวันมรณภาพของท่าน ซึ่งไม่น่าจะมาคล้องจองกันได้อย่างประหลาด กล่าวคือ หลวงพ่อทบเกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2424 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง แล้วมรณภาพในวันที่ 14 มีนาคม 2519 เวลาบ่าย 4 โมงเย็น ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ(4) รวมอายุได้ 95 ปี (9+5=14)