วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ใหว้หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า

น้องการ์ตูนพา ใหว้หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จ.ชัยนาท 
หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท
หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก
ส้มโอดกขาวแตงกวา

วันนี้ คุณปู่กับคุณย่าว่างเลยพาน้องการ์ตูนมาใหว้หลวงปู่ศุข ที่วัดค่ะ เลยถือโอกาสนี้แนะนำให้ทราบประวัติของหลวงปู่และสถานที่วัดเลยน่ค่ะ เพื่อเพื่อนๆๆ อยากไปใหว้นมัสการหลวงปู่กันค่ะ 



หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า ชัยนาท
พระครูวิมลคุณากร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า นามเดิมว่าศุข ท่านเกิดในสกุล เกษเวช (ในภายหลังเชื้อสายทายาทท่านใช้นามสกุล เกษเวชสุริยา) เป็นชาวเมืองชัยนาทโดยกำเนิดท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๙๐ ตรงกับปีฉลู ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔) ที่บ้านมะขามเฒ่า หรือในปัจจุบันคือ บ้านปากคลอง ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โยมบิดาชื่อน่วม มารดาชื่อ ทองดี มีภูมิลำเนาที่ตำบลมะขามเฒ่า ครอบครัวประกอบอาชีพค้าขาย และทำสวน หลวงปู่ศุขท่านเป็นบุตรคนหัวปลี (คนโต) มีพี่น้องรวมกัน ๙ คนชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงปู่ศุข เป็นเด็กชายศุข ที่มีความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยว เชื่อมั่นในตัวเองเป็นที่สุด จึงถูกยกให้เป็นผู้นำของเด็กๆในย่านตลาดวัดสิงห์บ้านของท่านอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา กิจกรรมประจำทุกๆวันก็เหมือนเด็กชนบททั่วไป คือการว่ายน้ำแข่งกัน เกาะเรือพ่วง เป็นที่สนุกสนานตามประสาเด็กที่ซุกซนอย่างมีความสุข
แล้วจุดเปลี่ยนของชีวิตก็มาถึง วันที่ต้องจากบ้านเกิด ในขณะที่เด็กชายศุข กำลังว่ายน้ำแข่งกับเพื่อนอย่างสนุกสนานเหมือนทุกวันอยู่นั้น มารดาได้ออกตามหาด้วยความเป็นห่วง เมื่อมาเห็นเล่นน้ำอยู่กับพวก จึงดุและเรียกให้ขึ้น แต่ด้วยความซุกซนของท่านจึงทำเป็นไม่ได้ยินที่มารดาเรียก ทำให้มารดาเอ็ดตะโลเป็นการใหญ่พร้อมคาดโทษ แล้วพูดออกไปด้วยความประชดว่า "หากไม่ขึ้นมาล่ะก็ ไม่ต้องขึ้นมาอีกเลย" ด้วยความทิฐิมานะของเด็ก เมื่อเห็นเรือโยงแล่นผ่านมา เด็กชายศุขจึงพุ่งตัวออกมาฝั่งว่ายน้ำไปเกาะเรือโยง ไต่ขึ้นไปนั่งบนเรือโยง เรือลำนั้นได้แล่นผ่านไปหลายจังหวัดพาท่านออกจากบ้านเกิด ร่อนเร่พเนจรมาเรื่อยๆและได้มาอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดนนทบุรี ย่านวัดโพธิ์ทอง หรือวัดโพธิ์บางเขนในปัจจุบัน จวบจนเติบโตเป็นหนุ่มใหญ่ ท่านได้มารู้จักหญิงสาวนางหนึ่งนามว่า "สมบุญ" ด้วยอัธยาศัยอันดีต่อกันจึงได้ตกลงปลงใจแต่งงานอยู่กินฉันสามีภรรยา โอยประกอบอาชพค้าขาย ช่วยกันสร้างฐานะจนเป็นปรึกแผ่นมั่นคง และมีบุตรชายด้วยกัน ๑ คน ชื่อ นายสอน เกศเวชสุริยา

อุปสมบท ด้วยจิตตั้งมั่นที่จะบวชทดแทนบุญคุณบิดามารดา ครั้นเมื่อท่านอายุครบ ๒๒ ปี ท่านได้เข้ารับการอุปสมบท ณ พัทธสีมา วัดโพธิ์ทองล่างในปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่ปากคลองบางเขนตอนล่าง ซึ่งเป็นวัดอยู่ใกล้บ้านท่านในขณะนั้น โดยมี พระครูเชย จันทสิริ อดีตท่านเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ทองล่างเป็นพระอุปัชฌาย์ พระถายม เป็นพระคู่สวด การอุปสมบทนี้โยมบิดามารดาไม่ได้เข้าร่วมพิธีด้วยเนื่องตากการเดินทางในสมัยนั้นไม่ค่อยสะดวก จากชัยนาทถึงนนทบุรี ก็ต้องใช้เวลาอย่างน้อย ๒-๓ วัน สำหรับพระครูเชยท่านเป็นพระสงฆ์ฝ่ายรามัญ ที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ท่านยังเป็นอาจารย์ ฝ่ายวิปัสสนาและพุทธาคมที่เชี่ยวชาญมากองค์หนึ่งในสมัยนั้น ซึ่งหลวงปู่ศุข ท่านได้รับถ่ายทอดวิชาความรู้จากพระอุปัชฌาย์ของท่านมาพร้อมกับอาจารย์ เปิง วัดชินวนาราม และหลวงปู่เฒ่าวัดหงษ์ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นศิษย์ในสายหลวงพ่อเชย วัดโพธิ์ทองล่างเหมือนกัน
แสวงหาครูบาอาจารย์ในด้านพระกรรมฐานและพระเวทวิทยาคม เมื่ออุปสมบทแล้วในตอนแรกท่านจำพรรษาอยู่กับพระอุปัชฌาย์ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานจนมีความแตกฉานพอสมควรแล้ว ท่านได้ออกเดินธุดงค์ เพื่อหาที่สงบฝึกฝนวิชาต่างๆที่ได้เล่นเรียนมา ในช่วงเวลานี้ท่านได้เดินทางไปในที่ต่างๆเพื่อศึกษาวิชาจากสำนัดที่มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยนั้น การเรียนกรรมฐานกับสำนักวัดพลับ(วัดราชสิทธาราม) กับ "พระสังวราเมฆ" พระอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญพระกรรมฐานลำดับมัชฌิมาปฏิปทาในสมัยนั้นโดยครั้งหนึ่งได้ปรากฎเรื่องราวระหว่างหลวงปูศุขและพระสังวราชุ่ม ศิษย์เอก พระสังวราเมฆ กล่าวคือในตอนนั้นหลวงปู่ศุขท่านได้ทดลองทำปาฏิหาริย์โดยการนำหัวปลี ๓ หัวมาบริกรรมด้วยพระคาถาที่ท่านได้เล่าเรียนมาเสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย หลวงปู่เสกอยู่นานผลปรากฎว่าหัวปลีทั้ง ๓ หัวก็ได้กลายเป็นกระต่าย ๓ ตัวในบัดดล พระสังวราชุ่ม ท่านคงนึกสนุกจึงได้บอกสัพยอกหลวงปู่ศุขว่า "กระต่ายของคุณต้องมานั่งบริกรรมคาถา ดูของผมนี่สิ" ว่าแล้วหลวงปู่ชุ่มก็พลางเอาปลายไม้เท้ายอดตาลของวิเศษประจำสำนักวัดพลับของท่าน ชี้ไปที่หัวปลีที่กองไว้บนพื้นที่เหลือผลปรากฎว่าหัวปลีที่เหลือได้กลายเป็นกระต่ายจำนวนมาก สร้างความประหลาดใจให้กับหลวงปู่ศุขยิ่งนัก จกานั้นมาท่านจึงขวนขวายในการเรียนพระกรรมฐานลำดับแบบมัชฌิมาปฏิปทาจนแตกฉานโดยอาศัยอารามวัดอนงคารามเป็นที่จำวัด
การที่หลวงปู่ชุ่มสามารถเสกหัวปลีให้เป็กระต่ายได้ก็ด้วยฤทธิ์ทางใจอันเกิดจากอำนาจสมาธิที่ท่านได้ฝึกมาดีแล้ว ผู้ที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้จะต้องสำเร็จอภิญญา อภิญญาหมายถึงความรู้ยิ่งหรือความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติสามัญ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐานจนได้ฌานสมาบัติ อภิญญาหมายถึงคุณสมบัติพิเศษของฌาณลาภีบุคคล(คนที่ได้ฌานสมาบัติ) หรือพระอริยบุคคลอันเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆแบ่งออกเป็น ๖ ประการ คือ อิทธิวิธีแสดงฤทธิ์ได้ เช่น ลองหนหายตัวได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ เสกใบไม้เป็นต่อเป็นแตน เนรมิตสิ่งทั้งหลายดังใจปรารถนา ทิพพจักขุ มีตาทิพย์ ทิพพโสต มีหูทิพย์ เจโตปริยญาณ กำหนดรู้ใจผู้อื่นได้ ปุพเพนิวาสานุสติญาณระลึกชาติได้ อาสวักขยญาณ รู้วิธีทำอาสวะให้สิ้นไป อภิญญา ๕  ของแรกเป็นของบุคคลทั่วไปที่ได้ญาณ (โลกียญาณ) อภิญญาข้อที่ ๖ มีเฉพาะพระอรหันต์เท่านั้น ดังนั้นถ้าพบผู้แสดงฤทธิ์ได้ อย่าพึ่งเข้าใจว่าผู้นั้นจะเป็นเสมอไป
นอกจากนี้ท่านยังได้เรียนวิชาด้าน "รสายนเวท" ได้แก่ "การเล่นแปรธาตุ" กับ "หลวงปู่ทับวัดอนงคาราม" โดยพักอยู่กับสมเด็จพระพุฒาจารย์(นวม) พุทธสรมหาเถร ซึ่งเป็นสหธรรมิกในฐานะชาวชัยนาทด้วยกันวิชาที่ท่านได้มากจากหลวงปู่ทับคือการทำ "โลหะเมฆสิทธิ์" ซึ่งมีคุณวิเศษด้ารการเสริมโชคลาภและกลับเรื่องร้ายให้กลายเป็นเรื่องดี จะเห็นได้ว่ามีพระเครื่องหลวงปู่ศุข จำนวนไม่น้อยที่สร้างด้วยเนื้อเมฆสิทธิ์ตำรับของวัดอนงคาราม ซึ่งในปัจจุบันนี้ตำราการเล่นแร่แปรธาตุทำเมฆสิทธิ์ได้ตกอยู่ที่ "ปู่ดำ คนอำเภออัมพวา" เมื่อปู่ดำสิ้นลงตำราตกอยู่กับ "หมอแช่ม เมืองสมุทรสงคราม" และตกทอดสู่ "พระอาจารย์สุพจน์ วัดท่าตำหนัก" หลวงปู่ศุขท่านเป็นผู้รอบรู้เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฏก ทางวิปัสณากรรมฐาน เรื่องวิชาในทางไสยศาสตร์เป็นยอดเยี่ยมท่านได้เคยทดลองในอิทธิปาฏิหาริย์ให้ปรากฎมากต่อมากแล้วในเรื่องนี้มีสานุศิษย์ของท่านผู้ที่เคยใกล้ชิดได้เล่าว่าหลวปู่ศุขวัดมะขามเฒ่า ท่านสำเร็จธาตุทั้ง ๔ นี้ เมื่อผู้ใดทำสำเร็จแล้ว สามารถจะทำให้เป็นอะไรได้ทั้งสิ้นจะผูกหุ่นพยนต์ล่องหนหายตัว กำบังกาย ระเบิดน้ำลงไปเดินในมหาสมุทร เดินบนผิวน้ำก็ได้ เสดาะโซ่ตรวน ขื่อคาออกทั้งสิ้น สะกดทัพ ทำได้ทุกอย่างแล้วแต่จะปราถนาจะต้องการสิ่งใด นอกจากท่านจะสำเร็จวิทยาคมทั้ง ๔ นี้แล้วท่านยังได้สำเร็จ นะ ต่างๆ ของวิชามายาศาสตร์เป็ฯจำนวนมากท่านได้ประกอบกระทำพิธีปลุกเสกด้วยผงดินสอพองแล้วรวบรวมนำมาทำพระพิมพ์แบบพระคะวัมองค์เล็กๆ แจกบรรดาสานุศิษย์จำนวนมาก ณ ที่ทำผง วิเศษต่างๆ นั้นมีผงปถมัง ผงนะปัดตลอด ผงตรีนิสิงเห ผงอิทธิเจ ผงนะคงคา ผงมหาช ผงพุทธคุณ ๑๐๘ ผงนะทรหด ผงนะหน้าทอง ฯลฯ ผงต่างๆ เหล่านี้มีอภินิหาร ความศักสิทธิ์มาก มีอานุภาพเมตตามหานิยมคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดเป็นต้น ท่านพุทธศาสนิกชนผู้ใดได้พระพิมพ์แบบพระคะวัม ของหลวงปู่ศุขวัดมะขามเฒ่าไว้ติดตัวแล้วนั้น จะมีศิริมงคลเจริญด้วยลาภผลมั่งมีทรัย์สินเงินทองป้องกันภัยพิบัติทุกประการ
กลับบ้านเกิด หลวงปู่ท่านอยู่ในธรรมหลายปี จนกระทั่งทราบข่าวโยมมารดาล้มป่วยด้วยชราภาพตามอายุขัย ด้วยความเป็นห่วงใยในมารดาและบิดา ท่านจึงได้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมโดยออกธุดงค์มาเรื่อยๆ จนถึงจังหวัดชัยนาท และได้อยู่จำพรรษาปีแรกๆที่วัดอู่ทองคลองมะขามเฒ่า ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณที่อยู่ลึก เข้าไปในคลองมะขามเฒ่าหรือบริเวณต้นแม่น้ำท่าจีนในปัจจุบัน แต่ทว่าสภาพวัดในขณะนั้น ชำรุดทรุดโทรมลงตามสภาพ เกินกว่าที่จะบูรณะให้กลับคืนในสภาพที่ดีได้ต่อไป ท่านจึงได้ สร้างวัดขึ้นมาใหม่ซึ่งก็คือวัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๗ ในระหว่างที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้น ท่านได้เริ่มสร้างถาวรวัตถุต่างๆจากวัดร้าง ที่ไม่มีอะไรเลย จนมีครบทั้งโสถ์ ศษลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ กลายเป็นวัดที่ใหญ่โตจนทุกวันนี้
หลวงปู่ศุขท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น พระครูวิมลคุณากร รั้งตำแหน่งเจ้าคณะแขวง (ปัจจุบันเรียกว่าเจ้าคณะอำเภอ) เป็นองค์แรกของอำเภอวัดสิงห์ หลวงปู่ศุขท่านเริ่มมีอาการอาพาธด้วยโรคชราในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๖ ท่านเริ่มอาพาธมากขึ้น และในเดือนพฤศจิกายน ก็มรณภาพลงด้วยอาการสงบในวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๖ สิริอายุได้ ๗๕ ปี พรรษาที่ ๕๐
  จากอดีตจนถึงปัจจุบัน พระเครื่องและเครื่องราง ที่หลวงปู่ศุข ได้สร้างและปลุกเสกไว้ ต่างเป็นที่ยอมรับในพุทธคุณ เป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้างขวาง นี่คือสิ่งที่หลวงปู่ศุข ได้มอบเป็นมรดกให้กับเราและคนรุ่นหลัง


ตั้งอยู่ที่หมู่ 1 ตำบลมะขามเฒ่า อำเภอวัดสิงห์ เป็นวัดที่ตั้งอยู่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า (แม่น้ำท่าจีน) แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา สาเหตุที่เรียกว่า “วัดปากคลองมะขามเฒ่า” เนื่องจากเดิมมีต้นมะขามเก่าแก่อยู่ต้นหนึ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาหน้าวัด วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีทิวทัศน์ที่สวยงามน่ารื่นรมย์ และมีชื่อเสียงด้านพระเครื่องด้วยหลวงปู่ศุข แห่งวัดปากคลองมะขามเฒ่า หลวงปู่ศุขเป็นเกจิอาจารย์ที่ประชาชนทั่วไปต่างเลื่อมใสศรัทธาท่านในด้านความศักดิ์สิทธิ์ ด้วยตำนานที่ยังเล่าขานกันสืบมาในเรื่องของวิชาอาคมและเครื่องรางของขลัง ความนิยมในพระเครื่องหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีอยู่สูงมากในปัจจุบัน แม้ว่าท่านจะมรณภาพไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2466 แต่ความเคารพศรัทธานั้นไม่เคยเสื่อมคลาย หลวงปู่ศุขยังได้สร้างพระเครื่องที่เรียกว่า “หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า” ซึ่งประชาชนนิยมนำไปสักการะบูชา
หลวงปู่ศุขได้พัฒนาวัดปากคลองมะขามเฒ่าจนมีความเจริญรุ่งเรือง ด้วยความเมตตาของท่านนั้นทำให้มีลูกศิษย์ลูกหาอย่างมากมาย และท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้จนสิ้นอายุขัยด้วยวัย 76 พรรษา
ปัจจุบันวัดปากคลองมะขามเฒ่ายังมีกุฏิของท่านเป็นแบบทรงไทยโบราณ ภาพถ่ายและข้าวของเครื่องใช้ รวมทั้งหุ่นขี้ผึ้งและรูปหล่อของหลวงปู่ศุข พร้อมด้วยรูปหล่อกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ไว้ให้เป็นที่สักการะบูชาโดยทั่วกัน สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดนี้ คือ ภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ในพระอุโบสถติดอยู่ตามผนังเป็นภาพพุทธประวัติ ที่ทรงวาดร่วมกับข้าราชบริพาร ทั้งหมดเขียนด้วยอักษรขอมผนังด้านใต้มีภาพเขียนบอกเวลาที่เขียนไว้คือปี พ.ศ. 2433 เพื่อถวายหลวงปู่ศุข เมื่อครั้งสร้างพระอุโบสถซึ่งทางวัดยังคงอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี
ความเชื่อและวิธีการบูชา ชาวจังหวัดชัยนาทและชาวไทยทั่วทุกสารทิศที่ศรัทธาในหลวงปู่ศุข เชื่อกันว่าบารมีของท่านจะช่วยดลบันดาลให้ผู้ที่มากราบไหว้ขอพรถึงวัดปากคลองมะขามเฒ่า มีความสุขสมความปรารถนา มีสิริมงคลต่อชีวิตและแคล้วคลาดจากอันตรายทั้งปวง และยังเชื่อในการบูชาเครื่องรางของขลังของหลวงปู่ศุข ว่าให้คุณทั้งในด้านโชคลาภ เมตตามหานิยม และแคล้วคลาดอยู่ยงคงกระพัน เปิดให้สักการะทุกวัน ตั้งแต่เวลา 9.00-11.00 น. และ 14.00-17.00 น.
การเดินทาง ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ 25 กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ตามทางหลวงหมายเลข 3183 กิโลเมตรที่ 36–37




ขอถ่ายรูปกับหลวงปู่หน่อยค่ะ



บริเวณหน้าศาลา

กรมหลวงชุมพร 








ขอให้หนูแข็งแรงและเป็นเด็กดีน่ค่ะ
  การเดินทาง วัดปากคลองมะขามเฒ่า อยู่ห่างจากตัวเมืองชัยนาทประมาณ ๒๕ กิโลเมตร ไปทางอำเภอวัดสิงห์ ตามทางหลวงหมายเลข ๓๑๘๓ กิโลเมตรที่ ๓๖ – ๓๗ หรือใช้เส้นทางหมายเลข ๑ ไปทางอำเภอมโนรมย์ แยกซ้าย กิโลเมตร ๒๘๘ – ๒๘๙ ข้ามสะพานธรรมจักร ระยะทางจากตัวเมืองประมาณ ๑๗ กิโลเมตร
สอบถามข้อมูลได้ที่ โทร. ๐ ๕๖๔๖ ๑๐๑๐

การเดินทาง
รถยนต์
ชัยนาทอยู่ห่างจากกรุงเทพประมาณ ๑๙๔ กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑ ประมาณกิโลเมตร ที่ ๕๐ มีทางแยกเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๓๒ ผ่าน จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี ประมาณ กิโลเมตรที่ ๑๘๓ มีทางแยกซ้ายมือเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข ๑ ไปจังหวัดชัยนาท อีกประมาณ ๑๐ กิโลเมตรรถโดยสารประจำทาง
จากกรุงเทพฯ มีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสานเหนือ ถนนกำแพงเพชร ๒ เริ่มบริการตั้งแต่ เวลา ๐๕.๓๐ – ๑๗.๓๐ น. รถออกทุกชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางประมาณ ๒ ชั่วโมงครึ่ง สอบถามรายละเอียดได้ที่ บริษัทชัยนาททัวร์ กรุงเทพฯ โทร. ๐ ๒๙๓๖ ๓๖๐๘ (ชัยนาท) โทร. ๐ ๕๖๔๑ ๒๒๖๔ หรือบริษัทขนส่งจำกัด โทร. ๐ ๒๕๗๖ ๕๕๙๙, ๐ ๒๙๓๖ ๒๘๕๒-๖๖ www.transport.co.th

ระยะทางจากอำเภอเมืองไปยังอำเภอต่างๆ
อำเภอมโนรมย์ ๑๔ กิโลเมตร
อำเภอสรรพยา ๒๑ กิโลเมตร
อำเภอวัดสิงห์ ๒๒ กิโลเมตร
อำเภอสรรคบุรี ๒๗ กิโลเมตร
อำเภอหันคา ๓๕ กิโลเมตร
อำเภอหนองมะโมง ๔๒ กิโลเมตร
อำเภอเนินขาม ๔๘ กิโลเมตร
หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 



เกมส์มาริโอ้ เกมส์ยิงซอมบี้ เกมส์เก็บเพชร เกมส์คนแก่หนีโรงพยาบาล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น