วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ใหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง

น้องการ์ตูน ชวนใหว้พระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดม่วง จ.อ่างทอง วัดม่วง
บ้านหัวตะพาน หมู่ที่ 6 ตำบลหัวตะพาน
อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง
โทร. 035-631556, 035-631974คำขวัญ อ่างทอง พระสมเด็จเกษไชโย หลวงพ่อโตองค์ใหญ่ วีรไทยใจกล้า ตุ๊กตาชาววัง โด่งดังจักสาน ถิ่นฐานทำกลอง เมืองสองพระนอน

พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)









ประวัติความเป็นมา พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ วัดม่วง (หลวงพ่อใหญ่)
หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ เป็นผู้วางศิลาฤกษ์ ด้วยตัวของท่านเอง เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2534 และต่อมา วันที่ 2 พฤษภาคม 2534 ได้ทำพิธีตอกลงเข็มเสาเอก หลวงพ่อเกษมเป็นประธานดำเนินการก่อสร้าง ร่วมกับลูกศิษย์และ ประชาชนผู้มีใจบุญทั้งหลาย เข้ามาร่วมกันก่อสร้างองค์พระ ทำให้ได้มีเงินทุนมากพอ ในการก่อสร้าง การหล่อหลอมสร้างองค์พระ ใช้วัสดุ อิฐ หิน ปูน ทราย หลวงพ่อใช้เงินทุกบาท ทุกสตางค์ จากผู้มาบริจาคในวัด เงินจากที่หลวงพ่อออกปฎิบัติกิจนิมนต์ เงินจากการทอดกฐิน ทอดผ้าป่า และงานบุญต่างๆในวัด และพร้อมด้วยคณะศิษย์ของหลวงพ่อ โดยหลวงพ่อได้ควบคุมการก่อสร้างเองมาตลอด มาระยะหลัง หลวงพ่อเกษมตรากตรำงานมาก จึงมีร่างกายอ่อนเพลีย ได้ให้หมดตรวจร่างกาย พบว่าเป็นมะเร็งที่ตับ จึงเข้ารับการรักษา ที่โรงพยาบาลศิริราช ตึก 84 ปี ชั้น 9 ห้อง 925 หมอได้ทำการรักษาไม่กี่เดือน ก็ได้มรณภาพลง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2544 ศิริอายุได้ 54 ปี 6 เดือน 7 วัน
 หลวงพ่อเกษม เคยสั่งบอกฝากกับลูกศิษย์ การก่อสร้างองค์พระ ให้ช่วยกันก่อสร้างต่อจากหลวงพ่อ ให้เสร็จ และหลวงพ่อเกษมได้ตั้งนามองค์พระเอาไว้ว่า “พระพุทธมหานวมินทร์ศากยมุนีศรีวิเศษชัยชาญ” พระนามนี้หลวงพ่อเกษมตั้งใจสร้างองค์พระนี้ เพื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 คณะลูกศิษย์หลวงพ่อเกษม ได้พร้อมใจรวมพลัง ช่วยกันสร้างร่วมกับ ประชาชนผู้มีจิตศรัทธาด้วย จนการก่อสร้างองค์พระ ได้เสร็จสมบูรณ์ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2550 มีระยะเวลาการก่อสร้างรวมประมาณ 16 ปี และวัดหน้าตักองค์พระได้ 63.05 เมตร ความสูงจากฐานองค์พระ ถึงยอดเกศา วัดได้ 95 เมตร ใช้เงินประมาณ 104,261,089.65 บาท


 ประวัติความเป็นมา วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. ๒๒๓๐ ณ. แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมาก
เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๕ ท่านพระคูวิบูลอาจารคุณ ( หลวงพ่อเกษม อาจารสุโภ ) ได้มาปักกลดธุงดงค์เห็นว่าบริเวณนี้เคยเป็นวัดร้าง จึงน่าปฏิบัติธรรม แต่ขณะปฏิบัติธรรม ได้ปรากฏนิมิต เห็นองค์หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง มาบอกว่าให้ท่านได้ช่วยก่อสร้างวัดม่วงขึ้นมาใหม่ เพราะท่านพระครู เป็นผู้มีบารมี ที่สามารถจะก่อสร้างบูรณะวัดม่วง ขึ้นมาใหม่ได้ด้วย ผู้ที่เคยอาศัยในสมัยก่อนได้มาเกิด และจะมาช่วยท่านแล้ว และในบริเวณวัดร้างนี้จะมีศิลาขาว และศิลาแดงอยู่ คือ องค์ของหลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง นั้นเอง ซึ่งต่อมาท่านพระครูวิบูลอาจารคุณ ได้มีการปั้นองค์พระครอบศิลาขาว และศิลาแดงไว้ โดยเรียกนามว่า หลวงปู่ขาว และหลวงปู่แดง จนถึงปัจจุบันนี้























ดีใจที่ได้มาใหว้พระหรือน้องการตูน 
















 ว่างๆๆอย่าลืมแวะไปใหว้กันน่ค่ะ



ใหว้พระ หลวงพ่อพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา

วันนี้น้องการ์ตูน พามาใหว้พระหลวงพ่อพุทธโสธร ที่

วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

แม่น้ำบางปะกงแหล่งชีวิต พระศักดิ์สิทธิ์หลวงพ่อโสธร พระยาศรีสุนทรปราชญ์ภาษาไทย อ่างฤๅไนป่าสมบูรณ์
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกง ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทราจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร
วัดโสธรวรารามวรวิหาร เดิมชื่อว่า วัดหงษ์ สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อพุทธโสธร พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของฉะเชิงเทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง










 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระมหากรุณาธิคุณ โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานการสร้าง และทรงเป็นผู้กำกับดูแลงานสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2531 และทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ น้ำหนัก 77 กิโลกรัม ประดิษฐานเหนือยอดมณฑป เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จมาทรงตัดหวายลูกนิมิต เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2549 






 การก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ สร้างขึ้นครอบพระอุโบสถหลังเดิม โดยใช้เทคนิควิศวกรรมสมัยใหม่ โดยไม่มีการเคลื่อนย้ายองค์หลวงพ่อพุทธโสธร และพระพุทธรูปทั้ง 18 องค์ [1]
ศิลปะภายในพระอุโบสถหลวงพ่อพุทธโสธร ประกอบด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบนับตั้งแต่พื้นพระอุโบสถ เสา ผนัง และเพดานจะบรรจุเรื่องราวให้เป็นแดนแห่งทิพย์ เป็นเรื่องราวของสีทันดรมหาสมุทร จตุโลกบาล สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรหมโลก ดวงดาว และจักรวาล โดยตำแหน่งของดวงดาวบนเพดาน กำหนดตำแหน่งตรงกับวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2539 ณ เวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบพิธียกยอดฉัตรทองคำ























ถ้ามีโอกาสอย่าลืมแวะไปใหว้หลวงพ่อพุทธโสธร กันน่ค่ะ
ตามทีอยู่นี้เลยค่ะ
 ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา 
  จังหวัดฉะเชิงเทรา ๒๔๐๐๐
  โทรศัพท์ ๐๓๘-๕๑๑-๔๔๙